วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ยุคของคอมพิวเตอร์

 
   ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

     คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว
เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine)


   จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสต์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ
   
หลักการของแบบเบจนี้เองที่ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็น บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์



 คอมพิวเตอร์สามารถเเบ่งออกเป็น 5 ยุค  
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 (พ.ศ. 2497-2501) 
The First Genaration 


หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube)
               คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสูญญากาศ (Vacuum tube) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องยังมีขนาดใหญ่มาก ใช้กระแสไฟฟ้าจำนวนมาก ทำให้เครื่องมีความร้อนสูงจึงมักเกิดข้อผิดพลาดง่าย คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ได้แก่ UNIVAC I , IBM 600
เครื่องคอมพิวเตอร์ Mark1
เครื่องคอมพิวเตอร์ ENIAC


คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 (พ.ศ. 2502-2507)
The Second Genaration 
ทรานซิสเตอร์ (Transistor)
               คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้ทรานซิสเตอร์ (Transistor) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และใช้วงแหวนแม่เหล็กเป็นหน่วยความจำ  คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กกว่ายุคแรก ต้นทุนต่ำกว่า ใช้กระแสไฟฟ้าน้อยกว่า และมีความแม่นยำ


คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 (พ.ศ. 2508-2513) 
The Third Generation 
  
Integrated Circuit : IC

              





 คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้วงจรไอซี (Integrated Circuit)  เป็นสารกึ่งตัวนำที่สามารถบรรจุวงจรทางตรรกะไว้แล้วพิมพ์บนแผ่นซิลิกอน (Silicon) เรียกว่า "ชิป"


คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 (พ.ศ. 2514-2523)  
The Fourth Generation  



ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor)
              


  คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้วงจร LSI (Large-Scale Integrated Ciruit) เป็นการรวมวงจรไอซีจำนวนมากลงในแผ่นซิลิกอนชิป 1 แผ่น สามารถบรรจุได้มากกว่า 1 ล้านวงจร ด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้ทำให้เกิดแนวคิดในการบรรจุวงจรที่สำคัญสำหรับการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์นั่นคือ CPU ลงชิปตัวเดียว เรียกว่า "ไมโครโปรเชสเซอร์" เเละในยุคนี้ได้มีการสร้าง  Supercomputer ที่มีชื่อว่า  CRAY-1 เเละ CRAY X - MP ซึ่งสร้างโดย Research,lnc. ซึ่งมีความเร็วในการคำนวณได้ถึง 100 ล้าน คำสั่งต่อวินาที

  คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 (พ.ศ. 2524-ปัจจุบัน) 
The Fifth Generation 

แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม

         คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้วงจร VLSI (Very Large-Scale Integrated Ciruit) เป็นการพัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ยุคที่ 5 จัดเป็นยุคปัจจุบันที่ใช้ความสามารถของเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับงานด้านฐานความรู้ ระบบผู้เชี่ยวชาญ เเละระบบปัญญาประดิษฐ์  

 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
       
    จากอดีตถึงปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้พัฒนามาอย่างรวดเร็วทำให้วิทยาการด้านคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กล่าวได้ว่าโลกของวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นมีการเคลื่อนไหวเสมอ ( dynamics) และไม่ค่อยยืดหยุ่น ( rigid ) มากนัก เช่น ถ้ามีความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย บางครั้งอาจเป็นบ่อเกิดปัญหาที่ใหญ่โตมหาศาลได้ นอกจากนี้ยังนับได้ว่าเป็นโลกที่ควบคุมไม่ได้ หรือสามารถจัดการได้น้อย กล่าวคือ ทันทีที่ทำงานด้วยโปรแกรม เครื่องก็ปฏิบัติงานไปตามโปรแกรมด้วยตนเอง ขณะนั้นมนุษย์ไม่สามารถควบคุมได้

ขอบคุณข้อมูลเเละรูปภาพจากwww.thaiwbi.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น